เมื่อซื้อสีโปสเตอร์มาใหม่
ให้เปิดขวดใช้ไม้กวนสีในขวดให้ทั่วจนสีเป็นเนื้อเดียวกัน
พู่กันสำหรับสีโปสเตอร์
ใช้ได้ทั้งชนิดปลายกลมและปลายแบน ควรมีขนที่อ่อนนุ่ม พู่กันแบบเบอร์เล็ก เช่น
เบอร์ 4,5,6 ใช้เกลี่ยไล่ให้สีกลืนได้ดีในการวาดแบบมีแสงเงา
จานสีที่ใช้ควรเป็นจานสีที่มีหลุมกลมลึก
ไม่ควรใช้จานสีที่เป็นช่องสี่เหลี่ยม เพราะเวลาที่กวนสีจะทำให้สีไม่เข้ากันดี
เวลาระบายจะทำให้สีด่าง จานสีที่มีสีขาวจะช่วยให้ผสมสีไม่ผิดเพี้ยน
การผสมสีโปสเตอร์ควรผสมน้ำให้พอเหมาะ
คือ ไม่ข้นหรือเหลวเกินไป แล้วต้องมีการกวนสีให้มากๆ
ไม่ว่าจะใช้สีใดควรมีสีขาวผสมอยู่ด้วย
ที่กล่าวมาคือวิธีที่จะทำให้ระบายสีได้เรียบสวยงาม
ถ้าต้องการระบายสีโปสเตอร์ให้เกิดแสงเงามีวิธีระบาย
คือลงสีอ่อนก่อนไปหาสีแก่หรือลงสีเข้มแล้วไล่หาสีอ่อน แต่วิธีที่แนะนำคือให้สังเกตหาสีกลาง
ระบายสีกลางนั้นก่อนแล้วจึงไล่เงาสีเข้ม ส่วนแสงลงด้วยสีอ่อนเกลี่ยให้กลืนกัน
การใช้ฟองน้ำแทนพู่กัน
ใช้ปลายนิ้วบีบฟองน้ำ (สำหรับล้างจาน) ให้แน่นเล็กจะตามต้องการเช็ดให้หมาด
แล้วนำไปแตะซ้ำๆ กัน บนภาพตามแสงเงา จะได้ภาพสวยงามไม่แพ้พู่กันกลม (AIR BRUSH)
ในงานที่ไม่พิถีพิถันมากนัก
หรือเพื่อความประหยัด ใช้สีโปสเตอร์ผสมน้ำแล้วไปกรองด้วยผ้าสกรีนหรือผ้าอื่น
นำไปใช้กับพู่กันกลมได้
ถ้าไม่สามารถเขียนสีโปสเตอร์ให้มีกรอบที่คมชัดได้
ก็ใช้เครื่องทุนแรงช่วย เช่นใส่สีในปากกาตีเส้นปรับขนาดเส้นตามต้องการ
หรือใช้กระดาษกาวสำหรับกันสี
หาซื้อได้จากร้านเครื่องก่อสร้างนำมากันส่วนที่ไม่ต้องการ หรือ
กันสีด้วยแผ่นฟิล์มที่ใช้สำหรับงานพู่กันกลมก็ได้แต่ราคาแพงหน่อย
ทางที่ดีนักเรียนนักศึกษาควรฝึกใช้ฝีมือจะดีที่สุด
สีโปสเตอร์ผสมกับปูนพลาสเตอร์
แล้วใช้เกรียงเพนท์บนวัสดุต่างๆ เมื่อแข็งตัวจะได้งานที่นูนสวยงามไม่แพ้สีน้ำมัน
เป็นที่ระลึกได้
ถ้าจะประหยัด
ใช้สีโปสเตอร์ระบายหรือตกแต่งวัสดุต่างๆ เช่น กระเบื้องไม้ฯลฯ ก็สามารถทำได้
เสร็จแล้วใช้แลคเกอร์สเปย์พ่นทับเสียเพี่อความทนทาน
สีโปสเตอร์นั้นทึบแสง
การเขียนภาพแล้วใช้สีโปสเตอร์สีขาว
ระบายตกแต่งส่วนที่เป็นแสงจัดหรือส่วนที่เป็นแสงสะท้อนได้อย่างดี
แต่อย่าใช้ในงานสีน้ำแนวจิตรกรรม ส่วนงานออกแบบไม่ว่าเป็นสีอะไรก็ทับได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น