Kings Crown

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สี

วงจรสี (Colour Wheel)
วงจรสี คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ เริ่มตั้งแต่ แม่สี 3 สี แล้วเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นมา จนครบวงจร จะได้สีทั้งหมด 12 สี ซึ่งแบ่งสีเป็น 3 ขั้นคือ
1.1 สีขั้นที่ 1 (Primary Colours) คือ แม่สี 3สี ได้แก่ สีแดง เหลือง และน้ำเงิน
1.2
สีขั้นที่ 2 (Secondary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี จะ
ได้สีเพิ่มขึ้นอีก 3สี
1.3 
สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours) คือ สีที่เกิดจากการผสมกันเป็นคู่ๆ ระหว่างแม่สี 3 สี กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก 6สี
1.4 สีกลาง (Neutral Colour) คือ สีที่เกิดการผสมสีทุกสี ในวงจรสี หรือ แม่สี 3สี ผสมกัน จะได้สีเทาแก่
สีทั้ง 3ขั้น เมื่อนำมาจัดอยู่เป็นวงจรจะได้ลักษณะเป็นวงล้อสี 
2. วรรณะของสี (Tone of Colour)
วรรณะสี คือ ความแตกต่างของสีแต่ละกลุ่ม ในวงจรสีโดยแบ่งตามความรู้สึกด้านอุณหภูมิ โดยแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ
2.1 สีวรรณะร้อน (Warm Tone) ประกอบด้วยสีเหลือง, ส้มเหลือง, ส้ม, ส้มแดง, แดง และม่วงแดง
2.2 สีวรรณะเย็น (Cool Tone) ประกอบด้วยสีม่วง, ม่วงน้ำเงิน, น้ำเงิน, เขียวน้ำเงิน, เขียวและเขียวเหลือง

3. สีตรงข้าม (Comprementary Colour)
สีตรงข้าม หมายถึง สีที่อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกันในวงจรสี และมีการตัดกันอย่างเด่นชัดซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน หากนำมาผสมกันจะได้สีกลาง (เทา) ซึ่งมีทั้งหมด 6คู่ ได้แก่
- สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
- สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
- สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
- สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
- สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน
- สีม่วงน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้มเหลือง





 สีข้างเคียง ( Analogous Colour)
สีข้างเคียง หมายถึง สีที่อยู่เคียงข้างกันทั้งซ้ายและขวาในวงจรสี มีความคล้ายคลึงกันหากนำมาจัดอยู่ด้วยกันจะมีความกลมกลืนกัน หากอยู่ห่างกันมากเท่าใดความกลมกลืนก็จะยิ่งน้อยลงความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสี ในวรรณะเดียวกัน (ภาพที่ 6) สีข้างเคียงได้แก่
- สีแดง - ส้มแดง - ส้ม หรือ ม่วงแดง -แดง - ส้มแดง
- สีส้มเหลือง - เหลือง - เขียวเหลือง หรือ ส้มแดง - ส้ม - ส้มเหลือง
- สีเขียว - เขียวน้ำเงิน - น้ำเงิน หรือ เขียวน้ำเงิน - เขียว - เขียวเหลือง
- สีม่วงน้ำเงิน - ม่วง - ม่วงแดง หรือ ม่วงน้ำเงิน- น้ำเงิน - เขียวน้ำเงิน

ทฤษฎีสี จากในอดีตที่สามารถค้นคว้าได้ตามหลักฐาน ทางประวัติ ศาสตร์นั้น สีมักจะถูกใช้โดยผู้ชำนาญ เช่น จิตรกร หมายถึง เพื่อการแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึก ทั้งกับผู้ทำ และผู้ดู
สีขั้นปฐม (The Primary Colours) ในโรงเรียน สมัยประถมต้นว่า สีพื้นๆ ที่เป็นแม่สีนั้นมี ภาษาเป็นทางการว่า "สีขั้นปฐมภูมิ" ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำ เงิน จำนวน 3 สี เป็น สีเดี่ยวๆ ที่ไม่สามารถใช้สี อื่นใดผสม เป็นสี 3 สีนี้ ได้
สีขั้นทุติยภูมิ (Secondary Colours) เป็นสีในขั้น ที่ 2 เกิดจาก การผสมตัวของแม่สี 2 สี เช่น แดง+เหลือง = ส้ม , แดง + น้ำเงิน = ม่วง , เหลือง + น้ำเงิน = เขียว เป็นต้น
สีขั้นที่ 3 (Tertiary Colours) เป็นการผสมสีใน ขั้นที่ 2 จำนวน 2 สี มาผสมกัน เช่น ส้ม+ม่วง หรือ เขียว+ส้ม หรือ เขียว+ม่วงโดยผลที่ออกมาจะเป็นสีออกน้ำตาลคล้ายๆกัน
ดำ : Black สีดำไม่จัดเป็นแม่สี นักทฤษฎีสีบางท่าน ถือว่าสี ดำไม่ใช่สี แต่ในความเป็นจริงเราพบเห็นและใช้สีดำ อย่างขาดไม่ได้พอๆ กับสีตรงข้ามของดำ คือ
ขาว : White สีขาว สำหรับงานจิตรกรรม ผลิตจาก สารตะกั่วที่ให้คุณสมบัติทึบแสง และกลบทับได้ดีเบื้องต้นของ หลักการความเป็นมาของสีนี้ เป็นสีที่มักใช้โดยกลุ่มจิตรกร และมักจะใช้ในงานจิตรกรรม , งานสถาปัตยกรรม , ตกแต่ง ภายใน ฯลฯ ไม่รวมถึงสีของแสงซึ่งต่างออกไป
สีของแสง : ประกอบด้วยแม่สี 3 สี เช่นกัน ได้แก่ BGR คือ Blue-น้ำเงิน , Green-เขียว , Red-แดง เช่นในเครื่อง รับโทรทัศน์ แต่เมื่อรวมเอาแสงของสีทั้ง 3 เข้าด้วยกันในปริมาณ เท่าๆ กันจะได้สีของแสงเป็นขาว ในงานออกแบบสาขาต่างๆ เราจะไม่ใช้การผสมสี สร้างสี ด้วยเนื้อสีเองแต่เราจะใช้สีในวัสดุต่างๆ นำมาจัดวางเข้าด้วย กัน หรือประกอบกันแล้วเกิด ผลในภาพรวม ซึ่งถ้าเราเข้าใจใน หลักการ ต่างๆ ของ น้ำหนักสี ความเข้มสี ความสว่าง สีคู่ตรงข้าม สีพหุรงค์+เอกรงค์ สีร้อน เป็นสีครอบ งำ การกลับค่าสี และอาจจะ มีจิตวิทยาของสี ความเชื่อเรื่องสีต่างๆนี้ก็จะทำให้ การทำงาน ในระดับมืออาชีพของนักตกแต่งหนักแน่นขึ้น มีที่มาที่ไป มากขึ้น และสนุกสนานมีทางเลือกมากขึ้นสำหรับนักตกแต่งบ้านในระดับ สมัครเล่น และบุคคลทั่วไป ซึ่งเราสามารถนำเอาหลักการต่างๆนี้มาประยุกต์ใช้ได้นอก เหนือไปจากงาน ตกแต่งภายในได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผมจะ ขยายความในโอกาสต่อไป

สีร้อน และเย็น Warm and Cool Colours สีแดง สีเหลือง สีส้ม สีม่วงออกแดง สีส้มแดง เหล่านี้เป็นสีที่ จัดอยู่ใน วรรณะร้อน เนื่องจากสีเหล่านี้ให้อารมณ์และความ รู้สึกที่รวดเร็ว ร้อนแรง ไม่เย็น ให้ความรู้สึกในทางกระตุ้น การตื่นตัว เตรียมพร้อม สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเขียว สีเขียวฟ้า เหล่านี้ เป็นสีที่จัดอยู่ใน วรรณะเย็น เนื่องจากสีเหล่านี้ให้อารมณ์ที่สงบเยือกเย็นให้ ความรู้สึกตรงข้ามกับสีใน วรรณะร้อนอย่างสิ้นเชิง ในงานศิลปะแขนงจิตรกรรม สีวรรณะร้อน เท่าที่นึกได้ เช่นศิล ปิน เซซาน์ หรือ โมเน่ เป็นต้น แต่มิได้หมายความว่า ท่านเหล่านี้ผลิตผลงานอันเป็นอมตะของท่านเป็นวรรณะร้อน แต่เพียงอย่างเดียวหรือ วรรณะเย็น อย่างเดียว แต่มีวิธีการ ใช้สีอย่างชาญฉลาดกว่านั้นมากนัก สีร้อนและสีเย็น ยังให้ผลในแง่ทัศนียภาพ โดยหลักการ แล้ว สีวรรณะร้อน จะให้ความรู้สึกอยู่ใกล้หรืออยู่ข้างหน้ามาก กว่า ในขณะที่ สีวรรณะเย็น ทำตรงข้ามคือสีเย็น : ช่วยให้ระยะ อยู่ลึกกว่า ความเป็นจริง หรือดูไกลออกไปมากกว่า ในด้านงานตกแต่งภายในไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่นหรือ มืออาชีพการนำเอาหลักการเหล่านี้มาใช้ ก็จะช่วยให้งานการ เลือกวัสดุและสีต่างๆของผนัง พื้น เพดาน ต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่อง ง่ายขึ้นและผิดพลาดน้อยลง และใช้เป็นข้อยุติได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น