เทคนิคสีโปสเตอร์
สื่อใกล้ตัวที่เรามองข้าม ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกฝน
ดินสอเพียงหนึ่งแท่งก็สามารถทำให้ภาพสวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ
ถ้าเราเบื่อการวาดเส้นขาวดำ การเริ่มต้นมาใช้ดินสอสีก็นับว่าน่าสนใจ
ข้อดีคือเราสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายกว่า การใช้สีที่เป็นลักษณะของเหลว สีแทบทุกเฉดมีให้เราเลือกโดยที่ไม่ต้องผสมมากมาย
และไม่หลงโทนสี
ข้อเสียน่าจะเป็น หากเราเขียนหนา ทับมากเกินไปสีจะจับตัวเป็นไข
ทำให้ลงทับไม่ได้
วาดลงบนกระดาษร้อยปอนด์เรียบสีที่ใช้คือ
Faber castell
การฝึกเขียนสีโปสเตอร์ในเบื้องต้นก็เช่นเดียวกับการฝึกเขียนสีน้ำ
มักนิยมเขียนจากหุ่นนิ่ง
เพื่อให้เกิดชำนาญมีทักษะรู้จักสังเกตเห็นลักษณะของสีและค้นพบเทคนิคการระบายสีด้วยตนเอง
จากนั้นจึงใช้เทคนิคการเขียนสีโปสเตอร์มาเขียนภาพสื่อความคิด
จินตนาการเป็นเรื่องราวหรือ
เหตุการณ์ต่างๆได้ตามความต้องการ
การเดรียมวัสดุอุปกรณ์
และขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์ จะกระทำ
เช่นเดียวกับการเขียนภาพด้วยสีน้ำ
|
การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน
มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้
1) การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้ว
ค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลง
ตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี
เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน
|
|
2) การระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับ
แสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ
เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรื่อ
สีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี
เพื่อให้เกิด
การประสานกลมกลืนกัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น